ความสุขของกระทิ
ความสุขของกะทิ เป็นนวนิยายขนาดสั้น เจ้าของรางวัลรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2549 ที่เขียนโดย คุณงามพรรณ เวชชาชีวะด้วยยอดจำหน่ายกว่า 250,000 เล่ม และถูกตีพิมพ์ไปแล้วกว่า 58 ครั้ง ทำให้ ความสุขของกะทิ เป็นหนังสือที่มีจำนวนผู้อ่านมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย รวมถึงยังโด่งดังจนได้รับอนุญาตลิขสิทธิ์เพื่อแปลและจำหน่ายไปแล้ว 7 ภาษาใน 8 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย (ภาษาอังกฤษ), ฝรั่งเศส, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, สเปน (ภาษาคาตาโลเนีย), เกาหลี, ลาว
และที่ จีน และ ไต้หวัน (ภาษาจีน) เป็น 2 ประเทศล่าสุดที่เพิ่งขายลิขสิทธิ์เพื่อแปลและพิมพ์จำหน่ายต่อไป รวมถึงเวอร์ชั่นไทย ก็เพิ่งจัดพิมพ์ "ฉบับปกแข็ง" เพื่อฉลองความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้ไป จากความประทับใจในหนังสือ ได้รับการถ่ายทอดสู่เรื่องราวบนแผ่นฟิล์มโดย "ภาพยนตร์ชูใจ"
"ไม่เคยมีใครพูดถึงแม่"
"กะทิ" (น้องพลอย-ภัสสร คงมีสุข) เด็กหญิงวัย 9 ขวบ ที่ต้องผ่านประสบการณ์การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เมื่อ "แม่" (รัชนก แสงชูโต) ต้องจากไปก่อนวัยอันควรด้วยโรคร้ายที่มิอาจรักษา กะทิต้องผ่านขั้นตอนความสุขและทุกข์ ความผูกพันและการพลัดพราก ความสมหวังและความสูญเสีย ที่มากเกินกว่าที่เด็กวัยเดียวกันนี้จะรับไหว
ถึงกระนั้น กะทิก็ได้เรียนรู้ผ่านสิ่งต่างๆ ใน "ลิ้นชักแห่งความทรงจำ" ที่แม่เตรียมไว้ให้ก่อนสิ้นลมหายใจว่า ความทุกข์จากการสูญเสียนั้นมิอาจพรากความสุขจากความรักและความผูกพันของแม่ที่มีต่อเธอได้
ความสุขของกะทิ เล่าเรื่องราวของกะทิ เด็กหญิงวัย 9 ขวบที่กำลังจะต้องสูญเสียแม่ ซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แม่รู้ตัวดีว่าไม่สามารถเลี้ยงดูกะทิได้ จึงฝากกะทิให้ตากับยายเลี้ยง กะทิเติบโตมาด้วยความรักของตาและยาย มีชีวิตอย่างสุขสบายในบ้านหลังน้อยริมคลองอันอบอุ่น
อดีตเหมือนเงา บางครั้งทอดนำทางอนาคต"
เด็กน้อยเติบโตขึ้นจากประสบการณ์นี้ด้วยความเชื่อมั่นและกำลังใจในการดำรงชีวิตจากบุคคลใกล้ชิด...ผู้ที่เธอรักและรักเธอ
ไม่ว่าจะเป็น "ตา" (สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์) และ "ยาย" (จารุวรรณ ปัญโญภาส) ผู้ที่รักหลานกะทิดุจชีวิต, "น้าฎา" (เข็มอัปสร สิริสุขะ), "น้ากันต์" (กฤษฎา สุโกศล แคลปป์), "ลุงตอง" (ไมเคิล เชาวนาศัย) และ "พี่ทอง" (นิธิศ โค้วสกุล) ที่ต่างเข้ามาสร้างสีสัน แบ่งปันความสุข และเติมเต็มชีวิตให้หนูน้อยกะทิรู้สึกว่า เธอไม่ได้ขาดอะไร และสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้เฉกเช่นเด็กๆ ในวัยเดียวกัน
ใครจะรู้ว่า แท้จริงแล้วในความโศกเศร้านี้ ก็มี...
"ความสุขจริงแท้อันยิ่งใหญ่" ที่ได้เบ่งบานในหัวใจของ "เด็กหญิงกะทิ" อยู่เช่นกัน
"ความสุขของคนรอบข้าง คือความสุขของเราด้วย...ความสุขแบ่งปันได้"
ผู้เขียน เล่าเรื่องราวของกะทิอย่างเรียบง่าย เนรมิตบ้านริมคลองให้เป็นบ้านในฝัน ที่อบอวลด้วยบรรยากาศอันรื่นรมย์ของอดีต ฉายรายละเอียดสิ่งละอันพันละน้อย ของวิถีชีวิตที่สุขสงบของครอบครัวชนชั้นกลางระดับสูงให้ผู้อ่านประทับใจ
กะทิมีครอบครัวที่เอาใจใส่ ดูแลกะทิด้วยความรัก และความห่วงใยจากใจจริง เธอมีคุณตาที่เคยเป็นทนาย ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะจากกะทิและครอบครัวได้อยู่เสมอๆ คุณยายของกะทิเป็นคนที่เคร่งครัด และหัวโบราณ แต่ถึงกระนั้นก็สอนกะทิเรื่องต่างๆนานา อะทิเช่น การทำอาหาร การอยู่ในสังคม เป็นต้น พี่ทองเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจกะทิเป็นอย่างดี และเป็นคนที่มีบุญคุณต่อกะทิ เพราะว่าพี่ทองเคยช่วยชีวิตกะทิไว้ตอนกะทิเป็นเด็กเล็ก น้าฏา และน้ากันต์ซึ่งเป็นคนที่ห่วงใยกะทิ และคอยหาสิ่งดีๆให้กะทิอยู่เสมอๆ และเป็นคนที่พูดปลอบใจกะทิในยามที่กะทิเศร้าโศกเสียใจ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ แม่ของกะทิ ที่ถึงแม้จะจากไปก่อนวัยอันควรแต่ก็จัดสิ่งต่างๆไว้ให้กะทิอย่างดิบดี ด้วยความรัก และเอาใจใส่จากใจ
แต่ในความสุขมีความเศร้า ในวิถีชีวิตที่สุขสงบนี้ กะทิต้องเผชิญประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ต้องสูญเสียแม่ และในความเศร้านั้นก็มีความสุข กะทิไม่คิดจะโหยหาถึงพ่อที่อยู่ไกลโพ้นต่างแดน หากเลือกอยู่ในอ้อมกอดของตากับยาย และผ่านชีวิตอันควรจะทุกข์นั้นด้วยใจที่เข้มแข็ง
เสน่ห์ ของนวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้อยู่ที่กลวิธีการเล่าเรื่อง ที่ค่อยๆ เผยปมปัญหาทีละน้อย ๆ อารมณ์สะเทือนใจจะค่อยๆ พัฒนาและดิ่งลึกในห้วงนึกคิดของผู้อ่าน นำพาให้ผู้อ่านอิ่มเอมกับรสแห่งความโศกอันเกษม ที่ได้สัมผัสประสบการณ์ทางอารมณ์ของชีวิตเล็กๆ ในโลกเล็กๆ ของเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ไกลจากชีวิตจริงของเราเลย
No comments:
Post a Comment